นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

จังหวัดจันทบุรี ประกอบพิธีมอบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา”

จังหวัดจันทบุรี ประกอบพิธีมอบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา”

วันนี้ ( 10 มี.ค.65 ) ที่ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย นางสุนิชฌาน์ ทองแย้ม ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในพิธีมอบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิด ลายนารีรัตนราชกัญญา” ให้กับ นายอำเภอ นายกกิ่งกาชาดอำเภอ ตัวแทนกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ช่างทอผ้า ผู้ผลิตผ้าในจังหวัดจันทบุรีเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบในการทอผ้า ผลิตผ้า และผลิตภัณฑ์ ในแต่ละท้องถิ่น เป็นการเริ่มต้น ต่อยอดแนวความคิดในการพัฒนาลวดลายผ้าไทย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไทยให้มีความทันสมัย สามารถก้าวสู่สากลเพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา ทรงพระราชทานแบบลายผ้า ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา ผ่านปลัดกระทรงมหาดไทย เพื่อเป็นของขวัญให้กับผู้ทอผ้าและผลิตผ้าทุกกลุ่ม นำไปทอผ้า ผลิตผ้าตามอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศ ทรงออกแบบผ้าลายพระราชทาน ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา โดยได้รับแรงบันดาลพระทัยจาก “ผ้าขิดลายสมเด็จ” ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานแก่ราษฎรอันเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาผ้าไทย ให้มีความร่วมสมัย “ลาย S ที่ท้องผ้า” หมายถึง สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงออกแบบให้เว้นช่องว่างไว้ เพื่อให้ราษฎรได้ร่วมถักทอลวดลายของตนเองลงในช่องว่าง เป็นการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากแต่ละท้องถิ่น โดยลายขิดที่เป็นกรอบล้อมรอบตัว S หมายถึงความจงรักภักดีที่ชาวไทยมีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์“ลายเชิงผ้ารูปหัวใจ”

หมายถึง ความรักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อปวงชนชาวไทย“ลาย S ประกอบกับลายขิดที่เชิงผ้า” หมายถึง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงปรารถนาให้คนไทยอยู่ดีมีสุข“ลายต้นสนที่เชิงผ้า” หมายถึง พระดำริในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญาในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ของโครงการศิลปาชีพฯ อันลายต้นสนนี้ เป็นลวดลายพื้นถิ่นที่ถักทออยู่บนผืนผ้าของบ้านนาหว้า จังหวัดนครพนม ที่ซึ่งเป็นจุดกำเนิดโครงการศิลปาชีพฯ“ลายหางนกยูงที่เชิงผ้า” หมายถึง ความตั้งพระทัยมั่นในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชกรณียกิจของสมเด็จย่าของพระองค์ในการฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าไทยให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดินโดยในลวดลายผ้าแต่ละลวดลายแฝงไปด้วยความหมายที่มีความลึกซึ้ง แสดงถึงความตั้งพระทัยมั่นของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชกรณียกิจของสมเด็จย่าของพระองค์ในการฟื้นฟูภูมิปัญญาผ้าไทยให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดินสืบไป

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี
พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

Exit mobile version