นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วยสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ และคณะ เยี่ยมชมแปลงเกษตรของผู้เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร มีพื้นที่ทำการเกษตร 23 ไร่ ตำบลแม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วยสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ และคณะ เยี่ยมชมแปลงเกษตรของผู้เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร มีพื้นที่ทำการเกษตร 23 ไร่ ตำบลแม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

วันที่ 20 มีนาคม 2564 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายสุริยะ คำปวง สหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ และคณะ เยี่ยมชมแปลงเกษตรของ นายวรชัย ทองคำฟู อายุ 41 ปี หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร มีพื้นที่ทำการเกษตร 23 ไร่ ในตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

นายวรชัยจบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เดิมเคยทำงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และได้ลาออกมาเพื่อทำธุรกิจที่บ้านที่ดำเนินธุรกิจแปรรูปผลไม้แช่อิ่ม กระเทียมโทนดอง พร้อมกับบริหารจัดการพื้นที่ทำการเกษตรในรูปแบบของวนเกษตร เริ่มจากการเข้าร่วมอบรมการจัดการสวนป่า โดยใช้หลักการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง มาพลิกฟื้นผืนแผ่นดินของตนเอง ผนวกกับนำองค์ความรู้จากการเรียนเกษตรมาช่วยในการจัดสรรแปลง ซึ่งพื้นที่เป็นที่ลาดชัน ทำให้เกิดปัญหาการเข้าถึงน้ำในการทำการเกษตร จึงได้เลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับปริมาณการเข้าถึงน้ำของพืชแต่ละชนิด ปลูกพันธุ์ไม้ป่าที่ได้รับอนุญาต เช่น มะขามป้อม ไผ่กิมซุง ผักหวานป่า ฯลฯ นำมาแปรรูป เช่น กิ่งไม้ในแปลงเอามาใช้เป็นฟืน นำมะขามป้อมป่ามาดองเป็นผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งมีการถ่ายทอดให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจและมีการบรรยายขยายผลในเรื่อง การจัดการแปลงให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในอนาคตอยากให้แนวความคิดของตนเองให้ขยายกับเกษตรกรที่สนใจในการทำเกษตรแบบวนเกษตร และอาจจะมีการแปรรูปเป็น ชาผักหวาน มะขามป้อมอบแห้ง ฯ รวมทั้งมีความตั้งใจอยากจะทำให้พื้นที่ทางการเกษตรของตนเป็นเหมือนป่าชุมชน หรือ Supermarket ชุมชน ที่มีทั้งพืชผักท้องถิ่น ไว้กินไว้ขายตลอดทั้งปี และยังใช้องค์ความรู้จากการเรียนทางการเกษตรนำมาประยุกต์ใช้กับการปลูกพืชผักต่าง ๆ ในพื้นที่ของตนและยังเป็นพื้นที่การเรียนรู้และทดลองของผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ของตนเองให้เกิดมูลค่าเพิ่ม พร้อมมีการบริหารจัดการที่ดี ทั้งในเรื่องของต้นทุนการผลิตและเทคโนโลยีในการผลิตผนวกกับช่องทางการตลาดในปัจจุบัน คือ การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์บนแฟลตฟอร์มต่าง ๆ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ COVID-19 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี ทำให้มีช่องทางการตลาดและมียอดขายที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการนำสินค้าวางขายในห้างสรรพสินค้า ตลาดจริงใจมาร์เก็ต และการออกบูธแสดงสินค้าอีกด้วย.

ทรงวุฒิ ทับทอง / กาญจนา เกตุทองมา

Exit mobile version