นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

พ่อเมืองอุบลฯ นำทีม “บวร” (บ้าน วัด ราชการ) เปิดการฝึกอบรม “โคก หนอง นา โมเดล” รุ่นที่ 27 พร้อมชู โคกหนองนา ช่วย “แก้แล้ง เก็บฝน” สร้างความมั่นคงทางอาหาร และผลผลิตสู่แบรนด์ “โคก หนอง นา โมเดล อุบลราชธานี”

พ่อเมืองอุบลฯ นำทีม “บวร” (บ้าน วัด ราชการ) เปิดการฝึกอบรม “โคก หนอง นา โมเดล” รุ่นที่ 27 พร้อมชู โคกหนองนา ช่วย “แก้แล้ง เก็บฝน” สร้างความมั่นคงทางอาหาร และผลผลิตสู่แบรนด์ “โคก หนอง นา โมเดล อุบลราชธานี”

วันที่ 15 มีนาคม 2564 เวลา 15.00 น. ณ วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล รุ่นที่ 27 จำนวน 101 คน ณ วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมด้วย ผู้แทนนายอำเภอโขงเจียม หัวหน้าส่วนราชการ พัฒนาการอำเภอโพธิ์ไทร พัฒนาการอำเภอทุ่งศรีอุดม ผู้อำนวยโรงเรียนศรีแสงธรรม เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและคณะวิทยากร ร่วมให้การต้อนรับและสนับสนุนการดำเนินงาน ทั้งนี้ ได้รับความเมตตาจากพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ที่ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ในการฝึกอบรมฯ และขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนตลอดมา ตามหลัก “บวร” หรือบ้าน วัด ราชการ

โอกาสนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้กล่าวพบปะกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ รุ่นที่ 27 ว่า “สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” นี้ จังหวัดอุบลราชธานี ของเรานั้น ได้รับงบประมาณดำเนินโครงการนี้มากสุดในประเทศไทย ผมจึงขอขอบคุณทุกท่านที่สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ ที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่เป็นพื้นที่เพื่อเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และสามารถทำประโยชน์ได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะการให้ผู้ที่สนใจในหมู่บ้านชุมชนได้เข้ามาเรียนรู้ในแปลงของท่าน ขอชื่นชมทุกท่านที่มีความ “หัวไว ใจสู้” ซึ่งคำว่า หัวไว หมายถึงพร้อมที่จะรับเอาความรู้ใหม่ๆ ส่วนใจสู้นั้น หมายถึงความขยันมั่นเพียรมีความสื่อสัตย์ในหน้าที่เเละบทบาทของตน ในอนาคตอันใกล้นี้ จังหวัดอุบลราชธานีของเรา จะเกิดความมั่นคงทางอาหารและมีผลผลิตจากโคกหนองนามากมาย ซึ่งโครงการนี้จะช่วยสร้างเศรษฐกิจฐานรากของคนในชุมชน และทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ นอกจากนั้น โครงการนี้ยังทำให้เรามีบ่อน้ำเป็นของตนเอง สามารถใช้ในแปลงเกษตรในพื้นที่ของตน สำหรับนาข้าว พืชผักสวนครัว ปศุสัตว์ ขอเน้นย้ำว่าหัวใจของ โคก หนอง นั้นคือ “แก้แล้ง เก็บฝน” ซึ่งแก้เเล้ง นั้น หมายถึง โคก หนอง นา โมเดล ที่กระจายอยู่ในจังหวัดทั้ง 25 อำเภอ 3,960 แปลง จะสามารถเก็บน้ำได้มากที่สุดถึงประมาณ 19 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีน้ำใช้ในการเกษตร ในการอุปโภคบริโภค ส่วนการ เก็บฝน หมายถึงในฤดูฝน พื้นที่โคกหนองนาจะช่วยเก็บฝนให้เรามีน้ำใช้ และชะลอน้ำหลาก ซึ่งเป็นต้นเหตุของน้ำท่วม นอกจากนั้น โคกหนองนา ยังทำได้มากกว่าแก้เเล้งเก็บฝน นั้นคือ เป็นพื้นที่ที่จะสร้างแหล่งอาชีพให้ลูกหลาน งในอนาคต เป็นการพึ่งตนเองตามหลักคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วย”

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ขอฝากถึงการลดการเผาตอซังข้าว การเผาวัชพืช การเผาตอพืชไร่ เเละอื่นๆ ขอให้นำเอาของเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ เช่น เอามาห่มดิน เอามาทำปุ๋ย ในส่วนของพื้นที่เป้าหมายโครงการ ยังเป็นพื้นที่ทำงานแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 นั่นก็คือ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 898 คน และในการฝึกอบรมครั้งนี้ จะได้เรียนรู้จากฐานเรียนรู้ทั้งหมด 10 ฐาน ขอตั้งใจเก็บเกี่ยวเอาความรู้ให้ได้มากที่สุด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้จริงต่อไป ทุกท่านจะได้เรียนรู้การจัดการน้ำ จัดการดิน จัดการแปลง จัดการกิจกรรมให้ถูกต้องตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ และภาคราชการจะสร้างภาพความต่อเนื่องของโครงการฯ ไม่ปล่อยให้ท่านทำอย่างโดดเดี่ยว ส่งผบให้จังหวัดอุบลราชธานี จะมีศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” กระจายอยู่ทั่วจังหวัด ผมตั้งเป้าผลผลิตที่ออกจาก “โคก หนอง นา โมเดล” จะต้องมีการรวบรวมผลผลิตและมีการส่งเสริมการแปรรูปมุ่งสู่แบรนด์ “โคก หนอง นา โมเดล จังหวัดอุบลราชธานี” โดยมีครัวเรือนเป้าหมายโครงการฯ เป็นหน่วยผลิตและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเป็นหน่วยสนับสนุนส่งเสริม ท้ายที่สุดคือสิ่งสำคัญที่สุด คือ เรามีความสุขในการประกอบอาชีพ มีความสุขในการทำมาหากิน พี่น้องประชาชนมีเศรษฐกิจครัวเรือนที่ดีขึ้น ต่อสู้กับผลกระทบจาก COVID-19 ได้อย่างเข้มแข็งต่อไป” ประธานในพิธีฯ กล่าวด้วยความมุ่งมั่น

จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการอนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบโคก หนอง นา โมเดล ให้สามารถเป็นแกนนำขับเคลื่อนการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล ดำเนินการ 48 รุ่นๆ ละ 5 วัน กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม 4,790 คน ประกอบด้วยครัวเรือนพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนละ 1 คน และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 898 คน ระยะเวลาดำเนินการระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564 จุดดำเนินการ 5 แห่ง ดังนี้ 1)ศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จำนวน 16 รุ่น 2)วัดป่าศรีแสงธรรม ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จำนวน 11 รุ่น 3)ศูนย์ฝึกอบรมวัดภูอานนท์ ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จำนวน 11 รุ่น 4)ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชนสารภีท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จำนวน 5 รุ่น และ 5)ชุมชนต้นแบบหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอนหมู ตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล จำนวน 5 รุ่น ซึ่งในขณะนี้ การฝึกอบรมฯ จุดที่ 4-5 ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย คงเหลือการฝึกอบรมฯ 3 จุด ได้แก่ 1)ศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน 2)วัดป่าศรีแสงธรรม ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม และ 3)ศูนย์ฝึกอบรมวัดภูอานนท์ ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม

สำหรับการฝึกอบรมตามโครงการฯ รุ่นที่ 27ระหว่างวันที่ 15-19 มีนาคม 2564 ณ วัดป่าศรีแสงธรรม แห่งนี้ มีฐานการเรียนรู้ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ จำนวน 10 ฐาน ประกอบด้วย 1)ฐานคนมีไฟ 2)ฐานคนมีน้ำยา 3)ฐานคนเอาถ่าน 4)ฐานรักษ์แม่ธรณี 5)ฐานรักษ์แม่โพสพ 6)ฐานคนรักษ์สุขภาพ 7)ฐานคนรักษ์ดิน 8)ฐานคนรักษ์ป่า 9)ฐานคนรักษ์น้ำ 10)ฐานคันนาทองคำ และมีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการฝึกอบรมฯ รวมทั้งสิ้น 101 คน จากอำเภอทุ่งศรีอุดม จำนวน 50 คน และอำเภอนาจะหลวย จำนวน 51 คน แยกเป็นครัวเรือนต้นแบบจำนวน 65 คน และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) จำนวน 36 คน โดยได้รับความร่วมมือจากทีมวิทยากรที่ผ่านการอบรมจากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติและทีม SAVEUBON ร่วมกับวิทยากรจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ทั้งนี้ ได้ดำเนินโครงการฯ ตามมาตรการเฝ้าระวังโรคไวรัส COVID-19 อย่างเคร่งครัด

นางสาวประทิน สาธาราช/อุบลราชธานี

Exit mobile version