นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ พัฒนาการอำเภอรือเสาะนราฯ เป็นประธานเปิดงานอาซูรอสัมพันธ์และบรรยายธรรม เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเป็นคนดี มีคุณธรรม นำสู่สังคมสันติสุข

นราธิวาส/ภาพ/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือรินายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ พัฒนาการอำเภอรือเสาะนราฯ เป็นประธานเปิดงานอาซูรอสัมพันธ์และบรรยายธรรม เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเป็นคนดี มีคุณธรรม นำสู่สังคมสันติสุขวันที่ 3 มีนาคม 2564 นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ พัฒนาการอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นประธานเปิดงาน อาซูรอสัมพันธ์และบรรยาธรรม เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ทำประโยชน์ให้กับสังคม เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชน รุ่นต่อๆไป การกิจกรรมครั้งนี้ เป็นความคิดริเริ่มของเยาวชน ในการรวมตัวทำกิจกรรมอาซูรอ สัมพันธ์ สร้างความรัก ความสมัครสมานสามัคคี ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านตำบล เป็นการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์และเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี การทำอาซูรอ ซึ่งประชาชนชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นิยมทำกัน เพื่อแจกจ่ายให้คนในชุมชน เป็นกิจกรรมนำร่อง ที่จะนำไปสู่การทำกิจกรรมอื่นๆ ทำให้เกิดการรวมตัวให้คนในชุมชน รวมพลังกาย พลังใจ และกำลังทรัพย์ แล้วมีการแบ่งปันกัน สร้างความสุข รอยยิ้ม เกิดความร่วมมือทุกภาคส่วนและมีการบรรยายธรรมให้เยาวชนเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตใจโอบอ้อมอารี พร้อมทั้งได้มอบเงินให้กับเด็กกำพร้าในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้เด็กกำพร้า ได้เติบโตเป็นเยาวชนและผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต เป็นคนดีของสังคม ช่วยเหลือชุมชน ให้สังคมกลับมาสู่ความสันติสุขอย่างยั่งยืน ณ มัสยิดบ้านอีนอ หมู่ที่ 2 ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสนายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ 10 ของเดือนมูฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือน ที่ 1 ตาม ฮิจเราะห์ศักราช (ศักราชอิสลาม ซึ่งนับวันตามจันทรคติ)
คำว่า อาซูรอ มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การผสมหรือรวมกัน หมายถึง การนำสิ่งต่างๆหลายอย่างมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว การกวนอาซูรอมิได้เป็นพิธีกรรมหรือศาสนกิจที่บังคับให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามต้องปฏิบัติ แต่เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
ในสมัยนบีนุฮ ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ยังความเสียหายแก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชนไปทั่วทุกแห่งหน ทำให้เกิดการขาดอาหาร นบีนุฮ จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของที่เหลือพอจะกินได้ ให้เอามากองรวมกัน และให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน ทำเป็นอาหาร สาวกของท่านได้กินอาหารโดยทั่วกันและเหมือนกัน
ในสมัยนบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) เหตุการณ์ทำนองนี้ได้เกิดขึ้น ขณะที่กองทหารของท่านกลับจากการรบที่บาดาร ปรากฏว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่านจึงใช้วิธีการของนบีนุฮ โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่กินได้มากวนเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งกันกินในหมู่ทหาร
ประเพณีการกวนอาซูรอเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวมุสลิมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานนับพันปี ตามความเชื่อของชาวมุสลิม ประเพณีการกวนอาซูรอ เป็นการรำลึกถึงความยากลำบากของศาสดานุฮ หรือ นบีนุฮ (โนอา)โดยเชื่อว่าในสมัยของท่านมีเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ น้ำท่วมโลกเป็นระยะเวลานาน ท่านนบีนูฮ ซึ่งล่องลอยเรืออยู่เป็นเวลานาน ทำให้อาหารที่ตระเตรียมไว้ร่อยหรอลงจึงได้นำส่วนที่พอจะมีเหลืออยู่เอามารวมแล้วกวนกินกัน จึงกลายเป็นตำนานที่มาของอาซูรอ และกำหนดไว้ในหลักศาสนาให้เป็นประเพณีที่ต้องปฏิบัติ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ทุกคนรักและสามัคคีกัน
ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ก็ยังมีการจัดเป็นงานประเพณีกวนอาซูรอขึ้นในชุมชนเป็นประจำทุกปี ใช้ชื่อว่า “งานอาซูรอสัมพันธ์” คำว่า อาซูรอ คือคำในภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม ในที่นี้หมายถึงการนำของที่รับประทานได้ทั้งของคาวของหวานจำนวน 10 อย่าง มากวนรวมกัน อีกทั้งยังหมายถึง วันที่ 10 ของเดือนมุฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของฮิจเราะห์ศักราชตามปฏิทินศาสนาอิสลาม เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาปีใหม่ของชาวมุสลิม โดยประเพณีอาซูรอสัมพันธ์จะจัดขึ้นในห้วงเวลานี้ ในทุกๆ หมู่บ้าน ชาวบ้านจะรวมตัวกันกวนอาซูรอ และมีกิจกรรม ร่วมไม้ ร่วมมือ ร่วมใจต่อเนื่องทั้งเดือน
ประเพณีการกวนอาซูรอ จึงเป็นประเพณีที่มีความสำคัญ เป็นการนำวัฒนธรรมที่ดีงามมาจัดเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ขึ้นในชุมชน เกิดความร่วมมือทั้งในหมู่พี่น้องประชาชนและหน่วยงานในท้องถิ่น เมื่อถึงเดือนมูฮัรรอม ชาวมุสลิมในพื้นที่ต่างๆ จะมีการหารือกันเพื่อจัดกิจกรรม กวนอาซูรอ ขึ้น โดยมีเจ้าภาพจัดขึ้นตามบ้านบ้าง ตามมัสยิดหรือปอเนาะบ้าง ทั่วทุกพื้นที่ตลอดทั้งเดือนมูฮัรรอม
ในเดือนนี้ท่านศาสดามูฮำหมัด(ซ.ล.) ส่งเสริมให้ถือศีลอดสุนัต(ปอซอ)ภาคสมัครใจ ตั้งแต่วันที่ 1-10 ของเดือน หรือวันที่ 9-10 ของเดือน ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็จงถือศีลอด(ปอซอ)ในวันที่ 10 ของมูฮัรรอม หรือปอซอทุกวันจันทร์กับวันพฤหัสบดีได้ตลอดปี เพื่อจะได้รับผลบุญจากอัลลอฮ์และทำให้จิตใจสะอาด

Exit mobile version