นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

อำนาจเจริญ ส่งเสริมให้เกษตรกรไถกลบตอซังและหว่านพืชปุ๋ยสดเพื่ออนุรักษ์ดินและลดต้นทุนการผลิต

อำนาจเจริญ
ส่งเสริมให้เกษตรกรไถกลบตอซังและหว่านพืชปุ๋ยสดเพื่ออนุรักษ์ดินและลดต้นทุนการผลิต

เมื่อเวลา 10.00 น.
วันที่5 มกราคม2564 ณ
แปลงนาเกษตรกร หมู่ที่ 12 ตำบลไม้กลอน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
นายทวีป บุตรโพธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญเป็นประธานเปิดงานงานวันรณรงค์ไถกลบตอซังและหว่านพืชปุ๋ยสด เพื่อสร้างจิตสำนึกให้พี่น้องเกษตรกร ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน ไม่เผาตอซังข้าว โดยการไถกลบตอซัง และหว่านพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน โดยนำหัวหน้าส่วนราชการและเกษตรกรในพื้นที่ร่วมกล่าวปฏิญาณตนหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร พร้อมร่วมหว่านเมล็ดถั่วพร้าและขับรถไถ พรวนดินกลบเมล็ดถั่วพร้า แล้วร่วมกันหยอดเมล็ดแตงโมกับเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญยังได้ปรุงอาหารเมนูซุบถั่วพร้า

ซึ่งเป็นอาหารอีสานโดยนำวัตถุดิบหลักคือถั่วพร้า ผลผลิตที่ได้จากการนำถั่วพร้าไปหว่านในแปลงนาเป็นปุ๋ยพืชสดมาประกอบอาหารในครั้งนี้
นายสำพรต จันทร์หอม เกษตรจังหวัดอำนาจเจริญกล่าวว่า ด้วยจังหวัดอำนาจเจริญมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 1 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ร้อยละ 68 ของพื้นที่ปลูกข้าว (ประมาณ 7 แสนไร่) เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว การสร้างการตระหนักรู้ในการจัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์จึงจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ในการพัฒนาทรัพยากรดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกพืช ซึ่งเป็นต้นน้ำที่สำคัญในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางการพัฒนาจังหวัดอำนาจเจริญภาคการเกษตร รวมถึงสนับสนุนขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของจังหวัดอำนาจเจริญ “เมืองธรรมเกษตร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง เส้นทางการค้าสู่อาเซียน” การจัดการดินเชิงพื้นที่ วิถีอำนาจเจริญ โดยการส่งเสริมการไถกลบ ตอซังข้าว การไม่เผาตอซังข้าวและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การส่งเสริมการปลูกพืชปุ๋ยสด (ถั่วพร้า) ตลอดจนการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดอำนาจเจริญให้มีความยั่งยืนต่อไป พร้อมทั้งกำหนดแนวทางในการจัดการดินเชิงพื้นที่ วิถีอำนาจเจริญ ตามมาตรการ 3 ต้อง คือ 1.ต้องร่วมมือกันไถกลบตอซังข้าว และหว่านพืชปุ๋ยสด (ถั่วพร้า) 2.ต้อง นำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่ การเพาะเห็ดฟาง วัสดุคลุมดิน ทำปุ๋ยหมัก เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น 3.ต้องไม่ เผาตอซังข้าวและเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างเด็ดขาด ผู้เข้าร่วมงานได้กล่าวกับผู้สื่อว่าขอบคุณผ่านสื่อมวลชน ทางหน่วยงานราชการเราที่ให้ความสำคัญหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วใน กิจกรรมงานนี้ประกอบด้วย การปฏิญาณตน หยุดเผาในพื้นที่การเกษตร การสาธิตการไถกลบตอซังข้าว การหว่านพืชปุ๋ยสด การสาธิตการนำฟางข้าวมาทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง การเพาะเห็ดฟาง การจัดนิทรรศการไม่เผาในพื้นที่การเกษตร การใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลทางการเกษตร ตลอดจนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

ภาพ/ปชส.อจ./ข่าว..ประวัติ นิธิเตชะยศสกุล เตชะยศสกุล รายงาน

Exit mobile version